วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ


การคิดและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

สรุปบทความ

  สรุปได้ว่าการคิดและการเรียนรู้ตามแนวคิดทางจิตวิทยามีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยตลอด แนวคิดทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบัน คือ แนวคิดของพิอาเจท์ (Piaget) บรูเนอร์ (Brunner) และไวกอตสกี้ (Vygotsky) รูปแบบการเรียนการสอนจึงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้สืบค้นและทดลอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำด้วยการคิด ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงออกในการคิดใช้ทักษะการคิด เรียนรู้แบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง บทบาทครูในฐานะผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำ ครูควรใช้คำถามที่มีความหมายให้คำอธิบาย พูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

   

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู






           เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ครูจึงมีหน้าที่ป้อนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น อย่างเรื่องของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ จ. ศรีสะเกษ ก็ได้นำสิ่งของใกล้ตัวของเด็กมาสอนเด็ก เช่น ได้รู้ว่าการที่เรามองเห็นสิ่งของต่าง ๆ และอธิบายได้ว่าของสิ่งนั้นมีลักษณะอย่างไร นั่นคือเราใช้ ตา ในการมองเห็น ซึ่งตาคือประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งนั่นเอง หรือการนำเอากลิ่นที่เด็กคุ้นเคยมาให้ทดลองดม เมื่อเด็กดมก็จะต้องบอกได้ว่ากลิ่นที่ดมไปคือ กลิ่นอะไร เป็นการสอนให้เด็กปฐมวัยได้มีความรู้เรื่องประสาทสัมผัสผ่านของจริงใกล้ตัว ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนชั้นสูงต่อไป

สรุปงานวิจัย


กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม
วิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์



ปริญญานิพนธ์
ของ
พรใจ  สารยศ



เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
มกราคม 2554
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ










วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18 ในการเข้าชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556


เรียนชดเชย

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • นำเสนองานสื่อการทดลอง
  • ส่งงานทุกชิ้น ได้แก่งาน 
    • ของเล่นเข้ามุุมวิทยาศาสตร์ คือ แว่นตา 3 มิติ
    • ของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ แก้วกระโดดได้



สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
"แก้วกระโดดได้"


หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีการทำ อยู่ในครั้งที่5


สื่อของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์
"แว่นตา 3 มิติ"


หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีการทำ อยู่ในครั้งที่6


สื่อการทดลองวิทยาศาสตร์
"น้าแข็งเต้นรำ"


หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีการทำ อยู่ในครั้งที่6

ครั้งที่ 17 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 25 กันยายน 2556

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • สรุปองค์ความรู้ที่จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 18 กันยายน 2556

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การลงมือปฏิบัติการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking ไข่ตุ๋นแฟนซี

1.ครูจัดเด็กให้นั่งเป็นครึ่งวงกลม จากนั้นนำอุปกรณ์มาวางไว้ข้างหน้าเด็ก

2.ครูเสริมแรงเด็กๆโดยใช้คำถามเช่น
  • เด็กๆคิดว่าวันนี้ครูจะมาทำกิจกรรมอะไร
  • เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ

3. ครูแนะนำอุปกรณ์และะวัตถุดิบที่เตรียมมา

4.ครูอาสาให้เด็กๆออกมาหั่นผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม 

5.ครูและเด็กร่วมกันทำไข่ตุ๋น โดยการเจียวไข่ให้เข้ากัน ใส่ต้นหอม ผักชี ใส่ปูอัด

6.จากนั้นนำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ลงไปในหม้อนึง รอเวลาประมาณ 15-20 นาที ระหว่างรอเวลาครูร่วมสนทนา

กับเด็กเกี่ยวกับการทำไข่ตุ๋น

7.เด็กๆได้รับประทานไข่ตุ๋นที่น่ากิน



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

การนำไปใช้
  1. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจวัตรประจำวัน
  2. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 15 ในการเข้าชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 15 กันบายน 2556


เรียนชดเชย
สิ่งที่ได้เรียนรู้
  • ทำกิจกรรมกลุ่ม "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก"
  • นำเสนออาหารที่จะเขียนแผนการสอน "ข้าวผัด U.S.A."




ภาพการนำเสนอ





ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  • การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก



การนำไปใช้
  • ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวั

ครั้งที่ 14 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 11 กันยายน 2556




**ไม่มีการเรียนการสอน**

*-เนื่องจาก อาจารย์ติดภาระกิจทางราชการ-*

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13 ในการเข้าชั้นเรียน


วันพุธที่ 4 กันยายน 2556




**ไม่มีการเรียนการสอน**

-*เนื่องจาก อาจารย์ติดภาระกิจทางราชการ*-

ครั้งที่ 12 ในการเข้าชั้นเรียน


วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556

ศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556

ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ. บุรีรัมย์







ครั้งที่ 11 ในการเข้าชั้นเรียน


วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556


       กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

    ** ไม่มีการเรียนการสอน**


***อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำ***


1.    ทำการทดลองวิทยาศาสตร์

2.    ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

3.    ทำว่าวใบไม้

4.    ศึกษาดูข้อมูลของโรงเรียนราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ครั้งที่ 10 ในการเข้าชั้นเรียน

 วันพุธที่ 14 สิหาคม 2556


   สิ่งที่ได้เรียนรู้



     - อาจารย์นัดหมายไปศึกษาดูงานที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย


ราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ. บุรีรัมย์


ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556

    

 -  อาจารย์ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำในการไปปรับปรุงแก้ไขให้


สมบูรณ์ หลังจากนั้นได้แจกแจงหน้าที่ของนักศึกษาแต่ละคนในการ


ไปศึกษาดูงาน


 

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 9 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2556

โครงการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย


การประกวดมารยาทไทย โดยตัวแทนแต่ละกลุ่ม
ถ่ายภาพร่วมกัน


**เนื่องจาก วันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรม โครงการ กายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย**

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8 ในการเข้าชั้นเรียน


วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2556








               ** ไม่มีการเรียน  การสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลาง

ภาคเรียนที่  1    ปีการศึกษา  2556  **

ครั้งที่ 7 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2556

  สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • การทบทวนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
  1. ถาม
  2. เล่า
  3. วาดรูป
  4. ประดิษฐ์
  • 5 ลักษณะ ของ Project Approach
  1. อภิปราย-ส่วนร่วม
  2. การนำเสนอประสบการณ์
  3. การทำงานภาคสนาม
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง

     ทักษะที่ได้รับ
  1. ทักษะการแตกผังความคิด
  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

   การนำไปใช้
  1. สามารถนำเทคนิดการใช้เทคโนโลยีในการแตกผังความคิดไปใช้ในการทำงานได้
  2. รู้หลักและวิธีที่จะทำให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

  • การทดลองทางวิทยาศาสตร์





น้ำแข็งเต้นรำ


อุปกรณ์

1.  ขวดหรือแก้วทรงสูง

2.  น้ำมันพืช

3.  น้ำแข็งก้อน (อาจใส่สีผสมอาหารลงในน้ำที่ใช้ทำน้ำแข็งจะเห็น

ได้ง่ายขึ้น)


วิธีทำ

1.  เติมน้ำมันลงในแก้ว

2.  ใส่น้ำแข็งก้อนลงในแก้ว น้ำแข็งจะลอยอยู่ในน้ำมัน

3.  สังเกตเมื่อน้ำแข็งละลาย


สิ่งที่เกิดขึ้น
     กิจกรรมนี้เป็นการอธิบายเรื่องความหนาแน่น โดยความหนาแน่นเป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักมวลต่อปริมาณ เช่นน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นความหนาแน่นเท่ากับ1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อกลายเป็นน้ำแข็งจะมีค่าความหนาแน่นน้อยกว่า
       เมื่อคุณใส่วัตถุใดๆลงในของเหลวจะมีแรง 2 ตัวกระทำต่อวัตถุนั้น ได้แก่ แรงโน้มถ่วงที่จะดึงวัตถุนั้นลง และแรงยกตัวที่จะดันวัตถุนั้นขึ้น วัตถุนั้นจะลอยหรือจมในของเหลวขึ้นอยู่กับความหนาแน่นโดย ?วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลวจะลอยแต่ถ้าความหนาแน่นมากกว่าของเหลวจะจม? น้ำแข็งและน้ำมันพืชมีความหนาแน่นใกล้เคียงกัน(ประมาณ920กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ดังนั้นน้ำแข็งจะลอยปริมอยู่ในน้ำมันพืชแต่เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำมันดังนั้นหยดน้ำจะจมลงโดยดึงน้ำแข็งลงมาด้วยในตอนแรกแต่เมื่อหยดน้ำหลุดจากน้ำแข็งแล้วจมลง ขณะที่ก้อนน้ำแข็งจะลอยกลับขึ้นไปที่ผิวหน้า


   
  • สื่อวิทยาศาสตร์ที่ไว้ในมุมเสริม
ประสบการณ์





    

แว่นตา 3 มิติ
อุปกรณ์ที่ใช้ :
1.      กระดาษแข็ง
2.      กรรไกร
3.      กาว 2 หน้า
4.      กระดาษพลาสติกใส สีแดง-สีน้ำเงิน
ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
1.      วาดรูปตามแบบแว่นตาลงในกระดาษแข็ง ทั้งตัวแว่นตา และขาแว่นตา 2 ข้าง
2.      นำกรรไกรตัดตามรอยที่เราวาด
3.      นำกรรไกรตามแผ่นพลาสติกใส ทังสีแดง-สีน้ำเงินให้เข้ากับเบ้าแว่นตาที่เราใช้ในการมอง จากนั้นใช้กาว 2 หน้าประประเป็นตัวแว่น
               หลักการทำงานอย่างง่ายๆ คือ การแสดงภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกัน ซึ่งภาพทั้งสองภาพนั้นจะมีโทนสีที่แตกต่างกันคือมี สีแดงและสีน้ำเงิน อีกทั้งยังมีมุมมองเหลื่อมกันอยู่เล็กน้อย ถ้าเรามองด้วยตาเปล่า เราก็จะเห็นเป็นเพียงภาพเบลอๆ เรียกได้ว่าถ้าดูนานๆ อาจจะตาลายหรือเวียนหัวกันทีเดียว เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีอุปกรณ์อย่างแว่นแดง-น้ำเงิน ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นตัวฟิลเตอร์ กรองสีที่ไม่ตรงกับสีของแว่นตาออกไป โดยที่แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกัน ผลที่ได้คือเราจะมองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ นั่นเอง 

                   
****หมายเหตุ****   

       เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   
แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลอง

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริม

ประสบการณ์


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ 2556

   สิ่งที่ได้เรียนรู้
  • อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย หน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล
สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉัน คือ

ถ้วยกระโดดได้ 

อุปกรณ์ที่ใช้ :
  1. ถ้วยพลาสติก หรือ ถ้วยกระดาษ 2 ใบ
  2. เชือกเส้นเล็ก 1 เส้น ยาวประมาณ 2 ฟุต
  3. ถุงพลาสติก
  4. อุปกรณ์ : กรรไกร, เทปกาว
ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
  1. ติดปลายเชือกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านนอกของก้นถ้วยใบแรก โดยใช้เทปกาว
  2. ติดปลายเชือกอีกด้านหนึ่ง เข้ากับด้านในของก้นถ้วยใบที่สอง โดยใช้เทปกาว
  3. ใช้กรรไกรตัดถุงพลาสติกเป็นริ้วยาว ความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร
  4. ใช้เชือกผูกริ้วพลาสติก รัดให้เป็นระยะๆ พองาม
วิธีเล่น :
  1. ถือถ้วยใบที่สองไว้ในมือ (ใบที่มีเชือกติดอยู่ที่ด้านในของก้นถ้วย)
  2. ใช้มือจับสายเชือกพร้อมริ้วพลาสติก ใส่ลงไปในถ้วยใบที่สอง แล้วใช้ถ้วยใบแรก วางซ้อนลงไปจนมิด
  3. ส่งถ้วยทั้งสองใบให้เพื่อนถือไว้ด้วยมือหนึ่ง แล้วบอกให้เพื่อนทำให้ถ้วยใบแรก กระโดดออกจากถ้วยใบที่สอง โดยไม่ต้องใช้มือ หรืออุปกรณ์ใดๆ ช่วยเหลือ และห้ามขยับมือที่ถือถ้วยด้วย
วิธีทำ :
     ใช้ปากเป่าลมแรงๆ ระหว่างปากถ้วยทั้งสอง ถ้วยใบที่อยู่ด้านในจะกระโดดออกมาข้างนอก พร้อมกับดึงเชือกและริ้วพลาสติกตามออกมาด้วย

เกิดอะไรขึ้น? : เมื่อเราเป่าลม อากาศจะวิ่งเข้าไปสู่พื้นที่ว่างระหว่างถ้วยทั้งสองใบ ทำให้แรงกดดันอากาศภายใน สูงกว่าแรงกดดันอากาศภายนอก ทำให้ผลักถ้วยที่อยู่ภายในกระเด็นออกมาได้

ถ้วยกระโดดได้
ลักษณะของถ้วยเมื่อประดิษฐ์เสร็จ
ถ้วยกระโดดได้
ซ้อนถ้วยไว้แบบนี้ ก่อนส่งให้เพื่อนลองทำ
ถ้วยกระโดดได้
เมื่อเป่าลมที่ปากถ้วย ถ้วยจะกระเด็นออกไป

    วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    ครั้งที่ 4 ในการเข้าชั้นเรียน

    วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

         สิ่งที่ได้เรียนรู้
    • อาจารย์ให้ดู VCD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
        คุณสมบัติของน้ำ มีอยู่ 3 สถานะ

         
         1. ของแข็ง ได้แก่ น้ำแข็ง
         2. ของเหลวได้แก่ น้ำที่ใช้อาบ ดื่ม
         3. ก๊าซ      ได้แก่ ไอน้ำ ก๊าซ
         
    การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ


       การเกิดฝน

       ฝนตกเกิดจาก น้ำโดนความร้อนของแสงจากดวงอาทิตย์หรือความร้อนอื่นใดที่ใช้ในการต้มน้ำ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน พอมากเข้าอากาศไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านี้ต่อไปได้ น้ำก็จะหล่นลงมายังผืนโลกให้เราเรียกขานกันว่าฝนตก

     คุณสมบัติของเกลือ สามารถดูดความร้อน ทำให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิต่ำ
         ลักษณะความดันในของเหลว ได้ดังนี้
       1. ของเหลวที่บรรจุอยู่ในภาชนะ จะออกแรงดันต่อผนังภาชนะที่สัมผัสกับของเหลวในทุกทิศทาง โดยจะตั้งฉากกับผนังภาชนะเสมอ
       2. ทุก ๆ จุดในของเหลว จะมีแรงดันกระทำต่อจุดนั้นทุกทิศทุกทาง

       3. สำหรับของเหลวชนิดเดียวกันความดันของของเหลวจะเพิ่มขึ้นตามความลึก และที่ระดับความลึกเท่ากันความดันของเหลวจะเท่ากัน
       4. ในของเหลวต่างชนิดกัน ณ ความลึกเท่ากัน ความดันของของเหลวจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของของเหลวนั้น


       ทักษะที่ได้รับ

    1. ทักษะทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการทดลองเรื่อง น้ำ
    2. ทักษะในการจดบันทึก
    3. ทักษะการแตกผังความคิด
       การนำไปใช้
    • สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการดู VCD ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
    • ฝึกการเขียนผังแตกความคิด