- การทดลองทางวิทยาศาสตร์
น้ำแข็งเต้นรำ
อุปกรณ์
1. ขวดหรือแก้วทรงสูง
2. น้ำมันพืช
3. น้ำแข็งก้อน (อาจใส่สีผสมอาหารลงในน้ำที่ใช้ทำน้ำแข็งจะเห็น
ได้ง่ายขึ้น)
วิธีทำ
1. เติมน้ำมันลงในแก้ว
2. ใส่น้ำแข็งก้อนลงในแก้ว น้ำแข็งจะลอยอยู่ในน้ำมัน
3. สังเกตเมื่อน้ำแข็งละลาย
สิ่งที่เกิดขึ้น
กิจกรรมนี้เป็นการอธิบายเรื่องความหนาแน่น
โดยความหนาแน่นเป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักมวลต่อปริมาณ เช่นน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นความหนาแน่นเท่ากับ1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อกลายเป็นน้ำแข็งจะมีค่าความหนาแน่นน้อยกว่า
เมื่อคุณใส่วัตถุใดๆลงในของเหลวจะมีแรง
2 ตัวกระทำต่อวัตถุนั้น ได้แก่
แรงโน้มถ่วงที่จะดึงวัตถุนั้นลง และแรงยกตัวที่จะดันวัตถุนั้นขึ้น
วัตถุนั้นจะลอยหรือจมในของเหลวขึ้นอยู่กับความหนาแน่นโดย ?วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลวจะลอยแต่ถ้าความหนาแน่นมากกว่าของเหลวจะจม? น้ำแข็งและน้ำมันพืชมีความหนาแน่นใกล้เคียงกัน(ประมาณ920กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
ดังนั้นน้ำแข็งจะลอยปริมอยู่ในน้ำมันพืชแต่เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำมันดังนั้นหยดน้ำจะจมลงโดยดึงน้ำแข็งลงมาด้วยในตอนแรกแต่เมื่อหยดน้ำหลุดจากน้ำแข็งแล้วจมลง
ขณะที่ก้อนน้ำแข็งจะลอยกลับขึ้นไปที่ผิวหน้า
- สื่อวิทยาศาสตร์ที่ไว้ในมุมเสริม
ประสบการณ์
แว่นตา 3 มิติ
อุปกรณ์ที่ใช้
:
1. กระดาษแข็ง
2.
กรรไกร
3.
กาว
2 หน้า
4. กระดาษพลาสติกใส สีแดง-สีน้ำเงิน
ขั้นตอนการประดิษฐ์
:
1.
วาดรูปตามแบบแว่นตาลงในกระดาษแข็ง
ทั้งตัวแว่นตา และขาแว่นตา 2 ข้าง
2.
นำกรรไกรตัดตามรอยที่เราวาด
3.
นำกรรไกรตามแผ่นพลาสติกใส
ทังสีแดง-สีน้ำเงินให้เข้ากับเบ้าแว่นตาที่เราใช้ในการมอง จากนั้นใช้กาว 2
หน้าประประเป็นตัวแว่น
หลักการทำงานอย่างง่ายๆ คือ
การแสดงภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกัน
ซึ่งภาพทั้งสองภาพนั้นจะมีโทนสีที่แตกต่างกันคือมี สีแดงและสีน้ำเงิน
อีกทั้งยังมีมุมมองเหลื่อมกันอยู่เล็กน้อย ถ้าเรามองด้วยตาเปล่า
เราก็จะเห็นเป็นเพียงภาพเบลอๆ เรียกได้ว่าถ้าดูนานๆ อาจจะตาลายหรือเวียนหัวกันทีเดียว
เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีอุปกรณ์อย่างแว่นแดง-น้ำเงิน
ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นตัวฟิลเตอร์ กรองสีที่ไม่ตรงกับสีของแว่นตาออกไป
โดยที่แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน
ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน
สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกัน
ผลที่ได้คือเราจะมองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ นั่นเอง
|
****หมายเหตุ****
เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน
แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้ คือ ให้คิดการทดลอง
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริม
ประสบการณ์
เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน
แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้ คือ ให้คิดการทดลอง
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริม
ประสบการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น