วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ


การคิดและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

สรุปบทความ

  สรุปได้ว่าการคิดและการเรียนรู้ตามแนวคิดทางจิตวิทยามีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยตลอด แนวคิดทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในปัจจุบัน คือ แนวคิดของพิอาเจท์ (Piaget) บรูเนอร์ (Brunner) และไวกอตสกี้ (Vygotsky) รูปแบบการเรียนการสอนจึงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้สืบค้นและทดลอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำด้วยการคิด ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงออกในการคิดใช้ทักษะการคิด เรียนรู้แบบร่วมมือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง บทบาทครูในฐานะผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำ ครูควรใช้คำถามที่มีความหมายให้คำอธิบาย พูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

   

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู






           เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ครูจึงมีหน้าที่ป้อนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น อย่างเรื่องของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ครูเด่นดวง ธรรมทวี รร.บ้านสำโรงเกียรติ จ. ศรีสะเกษ ก็ได้นำสิ่งของใกล้ตัวของเด็กมาสอนเด็ก เช่น ได้รู้ว่าการที่เรามองเห็นสิ่งของต่าง ๆ และอธิบายได้ว่าของสิ่งนั้นมีลักษณะอย่างไร นั่นคือเราใช้ ตา ในการมองเห็น ซึ่งตาคือประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งนั่นเอง หรือการนำเอากลิ่นที่เด็กคุ้นเคยมาให้ทดลองดม เมื่อเด็กดมก็จะต้องบอกได้ว่ากลิ่นที่ดมไปคือ กลิ่นอะไร เป็นการสอนให้เด็กปฐมวัยได้มีความรู้เรื่องประสาทสัมผัสผ่านของจริงใกล้ตัว ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนชั้นสูงต่อไป

สรุปงานวิจัย


กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม
วิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์



ปริญญานิพนธ์
ของ
พรใจ  สารยศ



เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
มกราคม 2554
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ










วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18 ในการเข้าชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2556


เรียนชดเชย

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • นำเสนองานสื่อการทดลอง
  • ส่งงานทุกชิ้น ได้แก่งาน 
    • ของเล่นเข้ามุุมวิทยาศาสตร์ คือ แว่นตา 3 มิติ
    • ของเล่นวิทยาศาสตร์ คือ แก้วกระโดดได้



สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
"แก้วกระโดดได้"


หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีการทำ อยู่ในครั้งที่5


สื่อของเล่นเข้ามุมวิทยาศาสตร์
"แว่นตา 3 มิติ"


หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีการทำ อยู่ในครั้งที่6


สื่อการทดลองวิทยาศาสตร์
"น้าแข็งเต้นรำ"


หมายเหตุ รายละเอียดและวิธีการทำ อยู่ในครั้งที่6

ครั้งที่ 17 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 25 กันยายน 2556

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • สรุปองค์ความรู้ที่จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16 ในการเข้าชั้นเรียน

วันพุธที่ 18 กันยายน 2556

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การลงมือปฏิบัติการทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking ไข่ตุ๋นแฟนซี

1.ครูจัดเด็กให้นั่งเป็นครึ่งวงกลม จากนั้นนำอุปกรณ์มาวางไว้ข้างหน้าเด็ก

2.ครูเสริมแรงเด็กๆโดยใช้คำถามเช่น
  • เด็กๆคิดว่าวันนี้ครูจะมาทำกิจกรรมอะไร
  • เด็กๆเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ

3. ครูแนะนำอุปกรณ์และะวัตถุดิบที่เตรียมมา

4.ครูอาสาให้เด็กๆออกมาหั่นผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม 

5.ครูและเด็กร่วมกันทำไข่ตุ๋น โดยการเจียวไข่ให้เข้ากัน ใส่ต้นหอม ผักชี ใส่ปูอัด

6.จากนั้นนำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ลงไปในหม้อนึง รอเวลาประมาณ 15-20 นาที ระหว่างรอเวลาครูร่วมสนทนา

กับเด็กเกี่ยวกับการทำไข่ตุ๋น

7.เด็กๆได้รับประทานไข่ตุ๋นที่น่ากิน



ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการประกอบอาหาร

การนำไปใช้
  1. การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับกิจวัตรประจำวัน
  2. การจัดกิจกรรม cooking ให้กับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 15 ในการเข้าชั้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 15 กันบายน 2556


เรียนชดเชย
สิ่งที่ได้เรียนรู้
  • ทำกิจกรรมกลุ่ม "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก"
  • นำเสนออาหารที่จะเขียนแผนการสอน "ข้าวผัด U.S.A."




ภาพการนำเสนอ





ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  • การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก



การนำไปใช้
  • ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวั